เที่ยวกาฬสินธุ์

น้ำตกผานางคอย ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ความเป็นมาของที่เที่ยวน้ำตกผานางคอยนี้ มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า ชาวบ้านบางคนบ้างก็ให้ชื่อตามนิทานเรื่องจันทโครพ เป็นความเชื่อที่ว่านางโมรา หลังจากที่ถูกสาปให้เป็นชะนีแล้ว

ภูผาผึ้ง (ลานหินปุ่มหินแตก) ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

เป็นลานหินที่มีลักษณะตะปุ่มตะปั่ม แปลกตา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่สวยงาม นักท่องเที่ยว ที่เดินทางศึกษาธรรมชาติ นิยมแวะพักชมทัศนียภาพ ณ บริเวณนี้

น้ำตกตาดสูง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

น้ำตกตาดสูง อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ เป็นน้ำตกธรรมชาติที่มีลานหินสไลเดอร์ธรรมชาติกว้างใหญ่ มีบรรยากาศตามธรรมชาติที่เย็นสดชื่น นำความประทับใจให้แก่ผู้มาท่องเที่ยวอย่างยิ่ง มีลักษณะเด่น และสำคัญคือ เป็นน้ำตกธรรมชาติที่สวยงามแห่งหนึ่ง ส่วนการเข้าถึงนั้น เดินทางตามเส้นทาง 2030 กุฉินารายณ์ – คำชะอี และแยกไปทางขวามือที่บ้านโคกโก่ง เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร

ภูน้ำจั้น (ฟอสซิลปลาโบราณ ) ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ในบริเวณที่เป็นภูน้ำจั้นในปัจจุบันนี้ เมื่อ 150 ล้านปีก่อนเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มากน้ำลึกกว่า 3 เมตร มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากบึงที่เคยอุดมสมบูรณ์ กลับเกิดความแห้งแล้งขึ้นฉับพลัน น้ำแห้งลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ที่เดินหรือคลานได้พากันอพยพไปที่อื่นส่วนปลาต่าง ๆ ก็พยายามดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด โดยมุดลงไปฝังตัวอยู่ใต้โคลนก้นบึงแต่ก็ต้องตายลงทั้งหมดเพราะท้ายที่สุดแล้วน้ำได้เหือดแห้งไปสิ้น หลายพันปีต่อมาพื้นที่นี้ทรุดตัวลงไปเรื่อย ๆ กลายเป็นท้องแม่น้ำเกิดกระบวนการสะสมตะกอนต่อเนื่องตามมาด้วยการยกตัวของเทือกเขาภูพานบริเวณ อ.เขาวง บีบดันจนชั้นหินมีลักษณะเป็นโครงสร้างรูปประทุน ซึ่งมีปลายเรียงทั้งสองข้างมุดลงใต้ดินคล้าย ๆ กับเรือแจวที่มีหลังคาประทุน เรียกกันว่า โครงสร้างรูปกุฉินารายณ์ ต่อมาบริเวณตอนกลางที่เสมือนหลังคาประทุนที่โป่งขึ้นมาถูกกัดเซาะจนกลายเป็นหุบเขา ทำให้เห็นวงของภูเขารอบด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชั้นหินที่ออกจากศูนย์กลาง ภูน้ำจั้น เป็นแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ชนิด ปลากินพืช เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส ตั้งชื่อตามวัดป่าพุทธบุตรที่เป็นที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพบเป็นจำนวนมากถึง 250 ตัวอย่าง ลักษณะทั่วไปของปลามีเกล็ดเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่แข็งหนาและมันวาวปกคลุมลำตัว มีความยาว 40-50 ซ.ม. ลักษณะที่ใช้จำแนกชนิดคือกระดูกแก้มที่มากกว่าเลปิโดเทสชนิดอื่น รวมทั้งฟันซี่เล็กแหลมที่พบติดกับขากรรไกร เป็นหลักฐานถึงการใช้ฟันครูดพืชเป็นอาหาร นอกจากนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาอิสานอิกทิส พาลัสทริส เป็นปลาสกุลใหม่ ชนิดใหม่ ที่ชื่อสกุลมีความหมายว่าปลากระดูกแข็งจากอิสาน เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ลำตัวยาวเรียว ความยาว 96 ซ.ม. พบเพียงตัวเดียวในแหล่งภูน้ำจั้น และยังพบ ปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตคัส มาร์ตินิ พบความสมบูรณ์ของแผ่นฟันจากขากรรไกรล่างกับขากรรไกรบนเชื่อมติดกับแผ่นกระโหลกพบเพียงตัวเดียว โดยแผ่นฟันที่พบแสดงการใช้งานจนสึกกร่อน พื้นที่ประกอบด้วยหินทรายสีน้ำตาล สีม่วงแดง เม็ดละเอียดถึงปานกลาง การคัดขนาดไม่ดี สลับหินทรายแป้งและหินโคลน สีน้ำตาลแกมแดงเนื้อไมก้า มีชั้นเม็ดปูนและชั้นซิลิกา อยู่ในหมวดหินภูกระดึง พ่อใหญ่สมนึก ใจศิริ ผู้ใหญ่บ้านดงเหนือ หมูที่2 ต.เหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เล่าว่า ตาน้ำที่ภูน้ำจั้นนี้มีรสชาดจืดสนิท หอมกลิ่นสมุนไพรและแร่ธาตุ ชาวบ้านได้ไปอาศัย ดื่มเมื่อเข้ามาประกอบอาชีพเกษตรในป่าภูโหล่ยปริมาณส่วนเกินไหลลงห้วยมะนาว หล่อเลี้ยงแปลงนาข้าวของชาวบ้านตำบลเหล่าใหญ่ ก่อนจะไหลลงลำน้ำยัง สาขาลำน้ำชี สุดท้ายของหยดน้ำของภูน้ำจั้นจะไหลลงน้ำโขง ดังผญาหรือสุภาษิตคำสอนของคนอีสานดังกล่าวข้างต้น จากหยดน้ำน้อยๆของภูน้ำจั้นรวมกันเป็นล้านๆหยดสามารถหล่อเลี้ยงมนุษย์ชาติจากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำดังนั้น หากความหลากหลายทางชีวภาพในป่าภูโหล่ย ไม่ลดลง ความสมดุลย์ของดินน้ำป่าจะยังคงอยู่ตลอดไป น้ำจั้น คือ น้ำที่ไหลออกมาจากผนังถ้ำ เชิงภูเขาหรือตลิ่งแม่น้ำระหว่างก้อนหิน อัตราการไหลมากน้อยขึ้นกับฤดูกาลและสภาพป่าบริเวณใกล้เคียง มักจะมีชื่อเรียกตามสถานที่นั้นๆ เช่น จั้นกกบาก จั้นป่าตอง จั้นดานใหญ่ เป็นต้น ที่ป่าภูโหล่ย อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณที่พบซากปลาโบราณ พบว่ามีแหล่งตาน้ำ เรียกว่าภูน้ำจั้น

แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ (วนอุทยานภูแฝก) ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

วนอุทยานภูแฝก (แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และมีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่นกระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เป็นต้น พบรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย

วนอุทยานภูพระ ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

วนอุทยานภูพระ อยู่ในท้องที่ตำบลท่าคันโท ตำบลยางอุ้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าคันโทประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 64,900 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526 ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขาเตี้ยๆมีพื้นที่ราบภูเขาเป็นบางแห่ง บางแห่งเป็นหน้าผาที่มีความลาดชันสูง มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลรินอยู่ตลอดเวลา มีหินโผล่และลานหินสูงต่ำ ป่าเต็งรัง มีพื้นที่ป่ามากที่สุดประมาณ 50 % ของพื้นที่ทั้งหมด มีไม้แคระแกร็นขนาดเล็กขึ้นอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พลวง แดง ป่าดิบแล้ง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณริมห้วยมีประมาณ 25 % ป่ามีสภาพแคระแกร็น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนทอง แดง ประดู่ ตะแบกใหญ่ ป่าเบญจพรรณ แทรกอยู่ระหว่างป่าเต็งรังกับป่าดิบแล้ง มีประมาณ 25 % มีไม้พื้นล่างได้แก่ เถาวัลย์ชนิดต่างๆซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไป สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง กระรอก กระแต ไก่ป่า อีเห็น กิ้งก่า พังพอน งู ตะกวด บริเวณภูพระมีสำนักสงฆ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก และมีทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงาม ป็นภูเขาหินเตี้ยๆปกคลุมด้วย ป่าโปร่งตั้งอยู่บนทราบจึงเป็นต้นน้ำลำธารได้อย่างดี

ถ้ำฝ่ามือแดง ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ถ้ำฝ่ามือแดง เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบภาพฝ่ามือแดงบริเวณหลืบหินทราย ลึกประมาณ 7เมตร สูง 3เมตร ยาว 50เมตร ขนาดเท่ามือผู้ใหญ่ 4ภาพ ขนาดเล็ก 2ภาพ โดยวิธีเอามือทาบกับผนังหินและพ่นสีแดงเรื่อๆ หน่วยศิลปากรที่ 7สำรวจพบเมื่อปี พ.ศ. 2507

ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ถือเป็นแหล่งใหม่ที่มีการขุดค้นพบซากฟอสซิล ไดโนเสาร์จำนวนมาก และมีความพิเศษโดดเด่นจากแหล่งขุดค้นอื่น ๆ เพราะผลพิสูจน์ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ทั้งด้วยความดึกดำบรรพ์ และมีขนาดที่ใหญ่โตจึงเป็นไปได้ว่าการขุดค้นใหม่ครั้งนี้ จะเป็นซากฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ซอโรพอด สกุลใหม่ของโลก แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย บ้านดินจี่ ต.ดินจี่ อ.คำม่วง ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อกันเป็นแนว การวางตัวของแนวเขาอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 295 เมตร มีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นภูเขาหินตะกอนที่เกิดการตกตะกอนบนบก อยู่ในกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย 2 หมวดหิน คือ ด้านบนของภูน้อย อยู่ในยุคครีเทเชียส ตอนต้น อายุประมาณ 140 ล้านปี กับอยู่ในยุคจูราสสิค ตอนปลาย อายุประมาณ 150 ล้านปี ซึ่งเป็นหมวดหินที่พบซากดึกดำบรรพ์

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ในบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำลำปาว มีนกชนิดต่างๆ มาอาศัยอยู่อย่างมากมาย และมีการจับและล่ากันเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2525 นายทวี หนูทอง นักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าอุทยานสัตว์ป่าลำปาว ได้ทำการสำรวจและนำเสนอกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อจัดตั้งให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว จนถึงปี พ.ศ. 2531จึงได้มีการประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้พื้นที่อ่างเก็บน้ำลำปาวทั้งหมด เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว โดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2531 และได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา

ซากไม้กลายเป็นหิน ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ซากไม้กลายเป็นหิน เป็นหินที่เกิดจากการทับถมของไม้ที่มีอายุกว่า 150 ล้านปี โดยผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านคำสมบูรณ์ ได้เก็บรวบรวมไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาชม ส่วนที่เหลือที่ยังอยู่ใต้ดิน ยังเก็บอนุรักษ์ไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านธรณีวิทยา

เกาะมหาราช ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

เกาะมหาราช เป็นสวนสาธารณะที่มีพื้นที่ยื่นออกไปในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว เป็นสวนสาธารณะและพักผ่อนอยู่ริมฝั่งอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว ตรงข้ามกับแหลมโนนวิเศษของ อำเภอสหัสขันธ์ สามารถนั่งเรือหรือแพขนานยนต์ข้ามฟากถึงกันได้ ในบริเวณเกาะมหาราชมี ศาลาที่พักซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อน

น้ำตกผาลี่ (น้ำตกผาลี้) ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

น้ำตกผาลี่ ตั้งอยู่ที่ ป่าสงวนแห่งชาติ ในเขตหมู่บ้านโคกกว้าง ต.มหาไชย อ.สมเด็จ ห่างจากอำเภอสมเด็จ ประมาณ 19.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่กัดเซาะแผ่นหินทรายขนากใหญ่ จนเกิดเป็นโตรกธาร โค้งเว้า สวยงามมาก

ผาเสวย ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

เป็นหน้าผาบริเวณเทือกเขาภูพานอย่าในเขตอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินุ์อันเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสกลนครเป็นเทือกเขาที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เช่น แมกไม้ น้ำตก และหน้าผา เป็นหน้าผาที่สูงชัน ตั้งอยู่ใก้ถนนหมายเลข 213 สายสกลนคร – กาฬสินธุ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2498 พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเสด็จถึงอำเภอสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณเทือกเขาภูพานได้หยุดพักทรงพระเกษมสำราญท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามของหุบเขา และเสด็จประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ หน้าผาแห่งนี้

ถ้ำพระถ้ำเซียน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ถ้ำพระถ้ำเซียนเป็นถ้ำขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมน้อย อยู่ห่างไกลชุมชน การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวค่อนข้างลำบาก ไม่มีป้ายบอกทาง และถนนขรุขระ