เที่ยวเพชรบุรี

วนอุทยานเขานางพันธุรัต ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ในตำนานกล่าวไว้ว่า นางพันธุรัตเป็นยักษ์รับพระสังข์มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยนางและบริวารแปลงร่างเป็นมนุษย์ วันหนึ่งพระสังข์ได้เข้าไปในเขตหวงห้ามลงไปชุบตัวในบ่อทองเอาชุดเจ้าเงาะและของวิเศษเหาะหนี นางพันธุรัต กลับมาไม่พบพระสังข์ก็ออกตามหา นางพยายามอ้อนวอนให้พระสังข์กลับแต่ไม่เป็นผล นางพันธุรัตเสียใจ จนอก แตกตายตามตำนานเมืองเพชร พอนางพันธุรัตตาย พระสังข์ก็ได้จัดการทำศพ ร่างของนางก็กลายเป็นภูเขา ชาวบ้านจึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “เขานางนอนหรือเขานางพันธุรัต” จนถึงทุกวันนี้

ศูนย์อนุรักษ์และศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ศูนย์อนุรักษ์และศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน ตั้งอยู่ด้านหลังโรงเรียนบางตะบูนวิทยา ป่าชายเลนบริเวณนี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีจึงค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำสะพานไม้และสะพานคอนกรีตยาวประมาณ 150 เมตรเดินเข้าไปในป่าชายเลนซึ่งมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น และมีสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นป่ามากมาย โดยเฉพาะ ปลาตีน ปูซึ่งจะดีดก้ามส่งเสียงดังไปทั่วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ในฤดูฝนจะพบหิ่งห้อยแมลงที่เรืองแสงได้อีกด้วย ทางเดินศึกษาธรรมชาติจะอยู่ติดกับชา ยทะเลซึ่งสามารถเห็นวิถีชีวิตการทำประมงพื้นบ้าน โดยมีมัคคุเทศก์น้อยซึ่งเป็นเยาวชนในท้องถิ่นเป็นผู้นำชมให้ความรู้

ถ้ำเขาย้อย ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

เขาย้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาย้อยอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเพชรบุรีประมาณ 22กิโลเมตร ที่นี่มีถ้ำหลายถ้ำสิ่งสำคัญที่อยู่ภายในถ้ำคือพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธรูปองค์ใหญ่น้อยหลายปางประดิษฐานอยู่และยังมีพระพุทธบาทจำลองติดกับเขาย้อย มีเกร็ดประวัติเล่าว่าสมัยเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จธุดงค์มาปักกลดววิปัสสนาที่หน้าเขาย้อย แล้วทรงย้ายขึ้นมาประทับนั่งกรรมฐานอยู่ในถ้ำเขาย้อยหลายคืน

น้ำตกปราณบุรี (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

น้ำตกปราณบุรี มีทั้งหมด 5 ชั้น เป็นน้ำตกชั้นเล็กๆ มีลักษณะสวยงามเฉพาะตัวในช่วงฤดูฝน การเดินทางค่อนข้างลำบาก แต่การเดินทางเข้าไปจะต้องติดต่อ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อนำทางก่อนทุกครั้งถึงจะเข้าไปยังน้ำตกได้

สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม เป็นสวนป่าชายเลนในเขตพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ไกลออกมาจากส่วนบริเวณนิทรรศการ ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้มีสภาพป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด แต่ได้มีการบุกรุกทำลายและป่ามีสภาพเสื่อมโทรมลงจนเกือบหมดสภาพป่าธรรมชาติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นโกงกางที่บริเวณปากคลองบางตราน้อยและคลองบางตราใหญ่ และได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้นี้ให้อยู่รอด และดำเนินการปลูกเพิ่มเติมต่อไป ปัจจุบันสภาพป่าชายเลนในเขตพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศมากขึ้น ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะบูน ตะบัน ตาตุ่มทะเล โพทะเล จิกทะเล ปรงทะเล ขลู่ ฯลฯ เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ กลายเป็นห้องเรียนธรรมชาติ สำหรับศึกษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนได้อีกแห่งหนึ่ง ดังนั้น หากไม่บอกคงไม่รู้ และเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อที่ได้ทราบว่าพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดบนเนื้อที่กว่า 1,800 ไร่ เป็นป่าปลูกที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยจัดเป็นป่าชายเลนที่ปลูกด้วยวิธีการแกล้งธรรมชาติได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และได้ชื่ออันเป็นมงคลว่า “สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม”

วัดเกาะแก้วสุทธาราม ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

วัดเกาะแก้วสุทธาราม ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า วัดเกาะ ในสมัยก่อนมีสายน้ำไหลผ่านรอบด้าน คือ ด้านทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเพชร และมีสายน้ำแยกจากแม่น้ำเพชรย่านวัดเกาะ 2 สาย คือทางทิศเหนือของวัด สายน้ำแยกจากแม่น้ำสายใหญ่ไหลไปทางทิศตะวันออก สายน้ำอีกสายหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของวัดเป็นคลองคั่นระหว่างวัดเกาะกับวัดจันทราวาส เรียกว่าคลองวัดเกาะ ไหลไปทางทิศตะวันออกไปบรรจบกับสายน้ำทางทิศเหนือรวมตัวไปทางทิศตะวันออกทำให้อาณาเขตของวัดมีสภาพเป็นเกาะจึงได้ชื่อว่า วัดเกาะและสายน้ำแห่งนี้ยังเปรียบเสมือนสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชนนี้อีกด้วย วัดเกาะแก้วสุทธาราม หรือ วัดเกาะเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ทิศเหนือจรดที่ดินเอกชน ทิศใต้จรดคลองวัดเกาะ ทิศตะวันออกจรดถนนมาตยาวงศ์ และทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเพชรบุรี และเป็นวัดที่มีโบราณสถานมากมายหลายอย่างอยู่ในตัววัดเกาะเช่น เมรุวัดเกาะ วิหาร กุฏิสามห้อง อุโบสถเป็นต้น

ถ้ำเขาหลวง ตำบลธงชัย อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดไม่ใหญ่มีความสูงเพียง 92 เมตร ภายในเขาหลวงมีถ้ำขนาดใหญ่เรียกกันว่าถ้ำเขาหลวง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ เป็นถ้ำที่มีชื่อเสียงมานานทั้งในหมู่ชาวไทยและต่างประเทศ ดังปรากฏในบันทึกของชาวยุโรป เมื่อราว 100 ปีก่อน เมื่อเดินทางมาถึงเมืองเพชรบุรีล้วนกล่าวถึงการเดินทางไปเยี่ยมชมถ้าเขาหลวงทั้งสิ้น และภาพถ้ำแห่งนี้ยังปรากฏในงานพิมพ์ของ อังรี มูโอ นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมายัง ไทย ลาว กัมพูชา ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2407

ชุมชนถ้ำรงค์ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานจากอดีตว่าสมัยก่อนบ้านถ้ำรงค์มีสภาพเป็นป่า วันหนึ่งมีเจ้าเมืองที่ไม่ปรากฏพระนามเสด็จมา ระหว่างที่กำลังชมภูมิประเทศ มีหญิงสาวชาวบ้านเห็นพระองค์เหน็ดเหนื่อย จึงเข้ามาถวายน้ำดื่มแก้กระหายแต่ในขันน้ำมีหญ้าคาลอยอยู่ เจ้าเมืองทรงกริ้วและเรียกให้หญิงชาวบ้านมาเข้าเฝ้า หญิงชาวบ้านอธิบายว่าที่ต้องใส่หญ้าคาลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าเมืองรีบเสวยน้ำในขณะที่กำลังเหนื่อยเพราะอาจทำให้สำลักจุกเสียดและประชวรได้ เจ้าเมืองได้ฟังก็ซาบซึ้ง จึงพระราชทานแหวน (ธำมรงค์) ให้แก่หญิงชาวบ้านเป็นการตอบแทนน้ำใจ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านธำมรงค์” และเรียกเพี้ยนมาเป็น “ถ้ำรงค์” ในปัจจุบัน ชุมชนบ้านถ้ำรงค์มีความอุดมสมบูรณ์ มีภูเขา ป่าไม้ ต้นตาลโตนด มีแม่น้ำเพชรบุรี และลำห้วยสายยาวที่มีน้ำใช้กินและใช้ในการเพาะปลูกตลอดปี มีโบราณสถาน วัดวาอาราม หลวงพ่อดำ หลวงพ่อขาวที่ศักดิ์สิทธิ์ มีถ้ำรงค์และถ้ำขนาดเล็กอื่นๆ ในพื้นที่ชุมชน มีงานหัตถกรรมจักสานใบตาล งานประดิษฐ์จากลูกตาลแก่ งานประดิษฐ์ว่าวไทย กลุ่มแม่บ้านแปรรูปผลผลิต มีอาหารคาวหวานที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล โตนดทอด ผลไม้นานาชนิด มีประเพณีและการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเส้นทางท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางน้ำ จักรยาน นั่งรถรางชุมชน

ศูนย์อนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน โรงเรียนบางตะบูนวิทยา ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบางตะบูนวิทยา ตามเส้นทางไปอ่าวบางตะบูน ป่าชายเลนบริเวณนี้มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ได้รับการอนุรักษ์ไว้มีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ ทางโรงเรียนได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นสะพานไม้และสะพานคอนกรีตยาวประมาณ 150 เมตร เข้าไปในป่าชายเลน เพื่อศึกษาระบบนิเวศซึ่งมีพันธุ์ไม้ป่าชายเลนขี้นอยู่หนาแน่น เช่น ต้นแสม ต้นโกงกาง ต้นชะคราม และมีสัตว์จำพวก ลิงแสม ปลาตีน ปูซึ่งจะดีดกล้ามดังไปทั่งบริเวณอยู่ตลอดเวลา และพบหิ่งห้อยได้ในฤดูฝน

หาดบางเกตุ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

หมู่บ้านบางเกตุมีพื้นที่ด้านตะวันออกติดทะเลอ่าวไทย โดยมรหาดทรายที่ขาวสะอาด เป็นความยาวประมาณ 1000 เมตร โดยหาดยังมีความสวยงามและมีพืชพื้นถิ่น คือ ผักบุ้งทะเล และหอยเสียบ

หาดปึกเตียน ตำบลปึกเตียน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

หาดปึกเตียนเคยเป็นป่าชายเลนมีต้นแสมขึ้นอยู่มากมายและได้มีนายทุนมาซื้อที่ดินเป็นของเอกชนแล้วพัฒนาจากหาดเป็นแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในท้องที่ตำบลปึกเตียน ห่างจากหาดเจ้าสำราญไปทางใต้ประมาณ 7 กม. หรือสามารถเดินทางไป ทางถนนเพชรเกษมถึงอำเภอท่ายางแล้วเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกคลองชลประทานสาย 2 ไปตามถนนนี้ ประมาณ 15 กม. บริเวณหาดปึกเตียนเป็นหาดทรายขาว สะอาด เหนือหาดมีลำคลองปึกเตียน ไหลผ่าน

เส้นทางดูนก ดูผีเสื้อ (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

เส้นทางดูนกดูผีเสื้อ เริ่มจากบริเวณด่านตรวจเขาสามยอด ถึงกิโลเมตรที่ 18 จะพบผีเสื้อได้ตามสองข้างทางหรือไม่ก็ตามโป่งดินระหว่างกิโลเมตรที่ 10-12 และจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถดูนกได้ คือ บริเวณตั้งแต่อ่างเก็บน้ำห้วยสามยอด เลยด่านตรวจมาไม่ไกล ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำนานาชนิด

น้ำตกแม่กระดังลา ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

น้ำตกแม่กระดังลา ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ท้องที่หมู่ 3 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีความสูง 3 ชั้น มีทัศนียภาพที่งดงาม เหมาะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

จัดตั้งเมื่อ 2523 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพ.ศ.2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 28 ของประเทศไทยและเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและปัจจุบันเป็นอุทยานที่ประกาศให้เป็นมรดกของอาเซียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2546

ชายหาดชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

หาดชะอำ อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กม. มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทางประมาณ 2 กม. เป็นชายหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้นจึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และได้พบว่าหาดชะอำเป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำจึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็นอำเภอจวบจนปัจจุบัน

ชุมชนถ้ำรงค์ ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานจากอดีตว่าสมัยก่อนบ้านถ้ำรงค์มีสภาพเป็นป่า วันหนึ่งมีเจ้าเมืองที่ไม่ปรากฏพระนามเสด็จมา ระหว่างที่กำลังชมภูมิประเทศ มีหญิงสาวชาวบ้านเห็นพระองค์เหน็ดเหนื่อย จึงเข้ามาถวายน้ำดื่มแก้กระหายแต่ในขันน้ำมีหญ้าคาลอยอยู่ เจ้าเมืองทรงกริ้วและเรียกให้หญิงชาวบ้านมาเข้าเฝ้า หญิงชาวบ้านอธิบายว่าที่ต้องใส่หญ้าคาลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าเมืองรีบเสวยน้ำในขณะที่กำลังเหนื่อยเพราะอาจทำให้สำลักจุกเสียดและประชวรได้ เจ้าเมืองได้ฟังก็ซาบซึ้ง จึงพระราชทานแหวน (ธำมรงค์) ให้แก่หญิงชาวบ้านเป็นการตอบแทนน้ำใจ ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านธำมรงค์” และเรียกเพี้ยนมาเป็น “ถ้ำรงค์” ในปัจจุบัน ชุมชนบ้านถ้ำรงค์มีความอุดมสมบูรณ์ มีภูเขา ป่าไม้ ต้นตาลโตนด มีแม่น้ำเพชรบุรี และลำห้วยสายยาวที่มีน้ำใช้กินและใช้ในการเพาะปลูกตลอดปี มีโบราณสถาน วัดวาอาราม หลวงพ่อดำ หลวงพ่อขาวที่ศักดิ์สิทธิ์ มีถ้ำรงค์และถ้ำขนาดเล็กอื่นๆ ในพื้นที่ชุมชน มีงานหัตถกรรมจักสานใบตาล งานประดิษฐ์จากลูกตาลแก่ งานประดิษฐ์ว่าวไทย กลุ่มแม่บ้านแปรรูปผลผลิต มีอาหารคาวหวานที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล โตนดทอด ผลไม้นานาชนิด มีประเพณีและการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเส้นทางท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางน้ำ จักรยาน นั่งรถรางชุมชน

น้ำตกทอทิพย์ (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

น้ำตกทอทิพย์ มีความสูง 9 ชั้น ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่สวยที่สุด แต่ละชั้นมีความสวยงามแปลกตา อยู่ห่างจากเขาพะเนินทุ่ง 15 กิโลเมตรและต้องเดินเท้าเข้าไปถึงตัวน้ำตกอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร แต่การเดินทางเข้าไปจะต้องติดต่อ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อนำทางก่อนทุกครั้งถึงจะเข้าไปยังน้ำตกได้

แม่น้ำเพชรบุรี ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

แม่น้ำเพชรบุรี มี 710 ลูกบาศก์เมตร ความยาวของแม่น้ำยังไม่สามารถระบุได้เพราะตัวเลขยังไม่แน่นอน การเดินทางที่สะดวกสบายที่สุด คือ เข้ามาทางสี่แยก อำเภอท่ายาง มีป้ายบอกตลอดสายและยังสามารถพบเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของขาวเพชรบุรี ริมฝังของแม่น้ำเพชรบุรีมีทั้งทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนเยอะ มีการจัดที่พักมากมายทั้งแบบหรูหราและแบบประหยัด แม่น้ำมีความใสสะอาด สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ถือว่าเป็นจุดเด่นของแม่น้ำเพชรบุรี รวมถึงยังมีกิจกรรมผจญภัยอื่นๆ อีกมาก เช่น การล่องแก่ง เล่นน้ำ เป็นต้น มีการบริการตลอดทั้งปี ตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้าจนถึง 6 โมงเย็น

ถ้ำค้างคาวนายาง ตำบลนายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ถ้ำค้างคาวนายาง ตั้งอยู่ตำบลนายาง อำเภอชะอำ ที่นี่มีแนวเขาหินปูนทอดยาว มีโพรงถ้ำเกิดตามธรรมชาติเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงค้างคาว ทุกวันหลัง 6 โมงเย็นเป็นต้นไป เราสามารถมาดักรอชมฝูงค้างคาวบินออกจากถ้ำเป็นสาย ดูน่าตื่นตาตื่นใจ

วนอุทยานชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

วนอุทยานชะอำตั้งอยู่ติดถนนเพชรเกษม ใกล้กับสี่แยกชะอำประมาณ 500 เมตร โดยมีเนื้อที่ 416 ไร่ จุดเด่นของสถานที่ คือเป็นพื้นที่ป่าชายหาด ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของชาวท้องถิ่นรวมถึงยังเป็นสถานที่พักผ่อน สวนสาธารณะ ออกกำลังกาย สามารถกางเต็นท์ สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

หาดแหลมหลวง ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

แหลมหลวง หรือ แหลมผักเบี้ย อยู่ในตำบลแหลมผักเบี้ย ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 20 กิโลเมตร ลักษณะเป็นหาดทรายมีปลายแหลมยื่นยาวออกไปในทะเลถึง 2 กิโลเมตร สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก นักท่องเที่ยวสามารถจะนั่งเรือหางยาวไปที่ปลายแหลม

ชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

เรื่องเล่าของบ้านถ้ำเสือเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2487 เนื่องจากสภาพพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ ทุกวันเมื่อถึงเวลา 4 โมงเย็นฟ้าเริ่มมืดครึ้ม ผู้คนที่อาศัยในผืนป่าเดียวกันนั้นจะต้องรีบปีนขึ้นไปนั่งห้างบนต้นไม้เพื่อพักและหลบจากสัตว์ป่าที่มีทั้ง ช้างป่า ม้า เสือ กระทิง อาศัยอยู่ ต่อมาเมื่อชาวบ้านเริ่มเห็นว่าพื้นที่แถวนี้อุดมสมบูรณ์และสามารถเพาะปลูกได้ดี ก็เริ่มถางป่าส่วนหนึ่งเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเกษตรและอยู่อาศัย จากนั้นสัตว์ป่าน้อยใหญ่ก็เริ่มหลบคนเข้าไปอยู่ในป่าบริเวณที่ลึกขึ้น ส่วนเรื่องชื่อของบ้านถ้ำเสือนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านไปพบเจอกับร่องรอยของเสือในถ้ำแถวนั้น จึงทำให้รู้ว่าแถวนั้นมีเสืออาศัยอยู่จนกลายมาเป็นชื่อของบ้านถ้ำเสือจนถึงปัจจุบัน จากนั้นบ้านถ้ำเสือจึงกลายเป็นชุมชนที่อยู่คู่กับป่าและผืนน้ำเพชรบุรี โดยขึ้นตรงกับอำเภอแก่งกระจาน ชาวบ้านทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ทำไร่ ทำสวน รวมถึงมีโครงการที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนคือโครงการธนาคารต้นไม้ โดยการสนับสนุนของ ธกส.

น้ำตกผาน้ำหยด ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

น้ำตกผาน้ำหยด ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นหน้าผาอยู่ริมลำน้ำเพชรบุรีกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ท่องเที่ยวโดยการล่องแก่งแม่น้ำเพชรบุรี มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลหยดลงสู่แม่น้ำเพชรบุรีอยู่ตลอดเวลาในฤดูฝน น้ำจะหยดเป็นสาย ก่อให้เกิดแผงมอสคลุมเขียวไปทั้งหน้าผา เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

ถ้ำเขาอีโก้ ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

ถ้ำเขาอีโก้เป็นสถานที่พำนักของชาวจีนในอดีตและพัฒนาการเป็นสถานปฏิบัติธรรมพระโพธิสัตว์กวนอิม ภายในถ้ำเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม มีหินงอกหินย้อยลักษณะคล้ายรูปหยดน้ำลักษณะทางยาวคล้ายก้างปลา ถ้ำเขาอีโก้มีลักษณะเป็นโพรงเปิดตอนบนมีพระเจดีย์สำคัญองค์หนึ่งซึ่งเจ้าอธิการแก้ว วัดพวงมาลัย มาสร้างไว้เมื่อ พ.ศ.2455

สวนเพชรเกาะอินทรีย์วิถีไทย ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

โครงการสวนเพชรเกาะอินทรีย์วิถีไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยเกาะเกษตรอินทรีย์นี้เกิดขึ้นภายใต้ความตั้งใจที่จะสร้างให้เป็นสวนแห่งการพักผ่อนที่มีคุณค่า มีความงามดั่งเพชรอย่างยั่งยืน พื้นที่โครงการมีลักษณะเป็นเกาะกลางแม่น้ำเพชรบุรี แต่เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีใจรักและหลงใหลด้านการเกษตร สะสมความรู้ความชำนาญและประสบการณ์มายาวนาน จึงมีความตั้งใจอยากเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรทั่วไป

น้ำพุร้อนหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

เป็นบ่อน้ำร้อนกลางป่าร่มรื่น พื้นที่บริเวณได้รับพัฒนาดูแลโดยชุมชน มีบ่อน้ำร้อน ซึ่งต่อท่อมาจากแหล่งกำเนิดซึ่งอยู่ห่างออกไป 400 เมตร ซึ่งสามารถเดินเท้าไปชมได้สะดวก น้ำในบ่อมีอุณหภูมิประมาณ 49 องศาเซลเซียส สิ่งอำนวยความสะดวก มีโรงนวดเพื่อสุขภาพ ห้องอาบน้ำแร่แบ่งชายหญิง ร้านอาหาร และสามารถกางเต็นท์พักแรมในบริเวณได้

น้ำตกทอทิพย์ (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

น้ำตกทอทิพย์ มีความสูง 9 ชั้น ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่สวยที่สุด แต่ละชั้นมีความสวยงามแปลกตา อยู่ห่างจากเขาพะเนินทุ่ง 15 กิโลเมตรและต้องเดินเท้าเข้าไปถึงตัวน้ำตกอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร แต่การเดินทางเข้าไปจะต้องติดต่อ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อนำทางก่อนทุกครั้งถึงจะเข้าไปยังน้ำตกได้

โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าหุบเขาทุ่งแฝก ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าหุบเขาทุ่งแฝกเกิดจาก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือได้รับจัดสรรงบประมาณจากจังหวัดเพชรบุรี (CEO) เพื่อพัฒนาหุบเขาทุ่งแฝกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด หุบเขาทุ่งแฝกเป็นหุบเขาที่ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์สมควรจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า เที่ยวแบบการผจญภัย การขึ้นหุบเขาต้องเดินขึ้น ซึ่งระหว่างทางเดิน เราสามารถชมธรรมชาติสองข้างทางเดินที่ลัดเลาะลำห้วย อุดมไปด้วยไม้ป่านานาพันธ์ ทั้งไม้ยืนต้น พืชคลุมดิน รวมถึงสมุนไพรต่าง ๆ ด้วย ในลำห้วยมีฝายกั้นน้ำ (check dam) เพื่อชะลอการไหลของน้ำ ทำให้มีน้ำใสไหลตลอดปี ทำให้พื้นดินชุ่มชื้นอยู่ตลอด และสามารถมองเห็นปลาที่แหวกว่ายอยู่ในลำห้วย บนต้นไม้น้อยใหญ่ ก็มีนกหลายชนิดที่เกาะเกี่ยวกิ่งไม้เก็บกินผลไม้ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์

ตลาดน้ำกลางป่าน้ำตกกวางโจว เพชรบุรี ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

จากจุดเริ่มต้นที่ผืนดินแห้งแล้ง ไร้น้ำแม้สักหยด แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในชุมชน นำโดยคุณลุงสุเทพ น้อมนำโครงการตามแนวพระราชดำริ ระบบบริหารจัดการน้ำ (น้ำตกแก้มลิงขนาดเล็ก) มาพัฒนาพลิกฟื้นผืนป่าที่เสื่อมโทรมจากการถูกบุกรุกทำลาย การเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย หลังจากพัฒนาทำตามแนวพระราชดำริ ผืนป่าและแหล่งน้ำกลับมาสวยงามอีกครั้งหนึ่ง สัตวป่าน้อยใหญ่ทีเคยหายไปก็กลับมา

ถ้ำเขาเตาหม้อ ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ถ้ำเขาเตาหม้อ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยการดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขากระปุก – เขาเตาหม้อ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,850 ไร่ จะเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. โดยมีจุดเด่น คือ การชมลิงแเสม สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ฝูงใหญ่ ชมทิวทัศน์ยามเย็นบนยอดเขา และหินงอกหินย้อยที่เกิดใหม่ (ซึ่งกำลังปรับปรุงอยู่) ระยะทางเข้าถึงค่อนข้างลำบากมาก ไม่มีรถคอยให้บริการต้องมีรถส่วนตัวถึงจะเข้าไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้และมีป้ายบอกทางน้อยเกินไปรวมถึงเส้นทางซับซ้อน

หมู่บ้านบางขุนไทร ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

หมู่บ้านบางขุนไทร (สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 เพชรบุรี) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีการเพาะพันธุ์พืชทางทะเล อาทิ โกงกาง แสม เป็นต้นรวมถึงการขยายพื้นที่ป่าชายเลนไปทั่วจังหวัด มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจเฉพาะกลุ่ม เหตุผลเพราะมีการประชาสัมพันธ์น้อยมาก จุดเด่นของสถานที่ คือ มีป่าชายเลนที่สวยและสมบูรณ์ เป็นที่ขยายพันธุ์ของหอยทะเลแหล่งใหญ่ และการเพาะพันธุ์ต้นกล้าป่าชายเลยแจกทั่วประเทศฟรี การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวค่อนข้างลำบากเพราะสถานที่อยู่ห่างจากชุมชน ไม่มีรถรับส่งคอยบริการ ส่วนใหญ่จะมากันเป็นชาวคณะ จากโรงเรียน บริษัท โดยในแต่ละเดือนจะมีผู้มาเยี่ยมชม 50 คณะต่อเดือน แต่ต้องติดต่อมาก่อนเพื่อความสะดวกสบายของผู้ที่สนใจ รวมถึงการจัดเตรียมวิทยากรที่มีความรู้คอยให้คำแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวได้รับการดูแลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ด้วยเนื้อที่ทั้งหมด 15,732 ไร่ และยังเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านในละแวกชุมชนบางขุนไทร เปิดบริการทุกวันตั้งแต่ 6.00-17.00 น. หรือ ถ้ามีผู้ที่สนใจจะชมบรรยากาศป่าชายเลนยามเช้า ทางสถานที่มีที่พักให้บริการ 3 ห้องนอน รองรับได้ ประมาณ 60 คน แต่เป็นห้องพักธรรมดาไม่มีสิ่งของเครื่องใช้ภายในห้อง ต้องเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคส่วนตัวมาเอง (backpacker)

เขื่อนแก่งกระจาน (ริมอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน) ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

มีเกาะกลางแม่น้ำอยู่มากมายหลายเกาะ นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะล่องเรือชมทิวทัศน์เพื่อพักผ่อนหรือตกปลาน้ำจืดในทะเลสาบ ก็สามารถเช่าเรือได้ที่ร้านอาหารหรือชมรมเรือที่อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯและยังมีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์ ไว้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

หาดเจ้าสำราญ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ในสมัยรัชกาลที่ 6 หาดเจ้าสำราญเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงมากกว่าหาดอื่นๆ ในเมืองไทยสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้น ณ ริมหาดแห่งนี้เรียกว่า พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ ต่อมารื้อไปสร้างใหม่ที่บริเวณอำเภอชะอำ เรียกชื่อว่า “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” บริเวณหาดเจ้าสำราญบางส่วนทำเป็นกันชนป้องกันน้ำทะเลเซาะชายฝั่ง บางส่วนเป็นหาดทรายเล่นน้ำได้ มีที่พักและร้านอาหารบริการ

เขาพะเนินทุ่ง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ในเขตประเทศไทยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 50 กิโลเมตรเป็นภูเขาสูง มีบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้ากว้าง ในระดับความสูง 960 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าชุกชุม มีทิวทัศน์งดงาม จากยอดเขาสามารถเห็นทะเลหมอกในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว