ภูน้ำจั้น (ฟอสซิลปลาโบราณ ) ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ในบริเวณที่เป็นภูน้ำจั้นในปัจจุบันนี้ เมื่อ 150 ล้านปีก่อนเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มากน้ำลึกกว่า 3 เมตร มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากบึงที่เคยอุดมสมบูรณ์ กลับเกิดความแห้งแล้งขึ้นฉับพลัน น้ำแห้งลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ที่เดินหรือคลานได้พากันอพยพไปที่อื่นส่วนปลาต่าง ๆ ก็พยายามดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด โดยมุดลงไปฝังตัวอยู่ใต้โคลนก้นบึงแต่ก็ต้องตายลงทั้งหมดเพราะท้ายที่สุดแล้วน้ำได้เหือดแห้งไปสิ้น หลายพันปีต่อมาพื้นที่นี้ทรุดตัวลงไปเรื่อย ๆ กลายเป็นท้องแม่น้ำเกิดกระบวนการสะสมตะกอนต่อเนื่องตามมาด้วยการยกตัวของเทือกเขาภูพานบริเวณ อ.เขาวง บีบดันจนชั้นหินมีลักษณะเป็นโครงสร้างรูปประทุน ซึ่งมีปลายเรียงทั้งสองข้างมุดลงใต้ดินคล้าย ๆ กับเรือแจวที่มีหลังคาประทุน เรียกกันว่า โครงสร้างรูปกุฉินารายณ์ ต่อมาบริเวณตอนกลางที่เสมือนหลังคาประทุนที่โป่งขึ้นมาถูกกัดเซาะจนกลายเป็นหุบเขา ทำให้เห็นวงของภูเขารอบด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีชั้นหินที่ออกจากศูนย์กลาง ภูน้ำจั้น เป็นแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ชนิด ปลากินพืช เลปิโดเทส พุทธบุตรเอนซิส ตั้งชื่อตามวัดป่าพุทธบุตรที่เป็นที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพบเป็นจำนวนมากถึง 250 ตัวอย่าง ลักษณะทั่วไปของปลามีเกล็ดเรียบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่แข็งหนาและมันวาวปกคลุมลำตัว มีความยาว 40-50 ซ.ม. ลักษณะที่ใช้จำแนกชนิดคือกระดูกแก้มที่มากกว่าเลปิโดเทสชนิดอื่น รวมทั้งฟันซี่เล็กแหลมที่พบติดกับขากรรไกร เป็นหลักฐานถึงการใช้ฟันครูดพืชเป็นอาหาร นอกจากนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาอิสานอิกทิส พาลัสทริส เป็นปลาสกุลใหม่ ชนิดใหม่ ที่ชื่อสกุลมีความหมายว่าปลากระดูกแข็งจากอิสาน เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ลำตัวยาวเรียว ความยาว 96 ซ.ม. พบเพียงตัวเดียวในแหล่งภูน้ำจั้น และยังพบ ปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตคัส มาร์ตินิ พบความสมบูรณ์ของแผ่นฟันจากขากรรไกรล่างกับขากรรไกรบนเชื่อมติดกับแผ่นกระโหลกพบเพียงตัวเดียว โดยแผ่นฟันที่พบแสดงการใช้งานจนสึกกร่อน พื้นที่ประกอบด้วยหินทรายสีน้ำตาล สีม่วงแดง เม็ดละเอียดถึงปานกลาง การคัดขนาดไม่ดี สลับหินทรายแป้งและหินโคลน สีน้ำตาลแกมแดงเนื้อไมก้า มีชั้นเม็ดปูนและชั้นซิลิกา อยู่ในหมวดหินภูกระดึง พ่อใหญ่สมนึก ใจศิริ ผู้ใหญ่บ้านดงเหนือ หมูที่2 ต.เหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เล่าว่า ตาน้ำที่ภูน้ำจั้นนี้มีรสชาดจืดสนิท หอมกลิ่นสมุนไพรและแร่ธาตุ ชาวบ้านได้ไปอาศัย ดื่มเมื่อเข้ามาประกอบอาชีพเกษตรในป่าภูโหล่ยปริมาณส่วนเกินไหลลงห้วยมะนาว หล่อเลี้ยงแปลงนาข้าวของชาวบ้านตำบลเหล่าใหญ่ ก่อนจะไหลลงลำน้ำยัง สาขาลำน้ำชี สุดท้ายของหยดน้ำของภูน้ำจั้นจะไหลลงน้ำโขง ดังผญาหรือสุภาษิตคำสอนของคนอีสานดังกล่าวข้างต้น จากหยดน้ำน้อยๆของภูน้ำจั้นรวมกันเป็นล้านๆหยดสามารถหล่อเลี้ยงมนุษย์ชาติจากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำดังนั้น หากความหลากหลายทางชีวภาพในป่าภูโหล่ย ไม่ลดลง ความสมดุลย์ของดินน้ำป่าจะยังคงอยู่ตลอดไป น้ำจั้น คือ น้ำที่ไหลออกมาจากผนังถ้ำ เชิงภูเขาหรือตลิ่งแม่น้ำระหว่างก้อนหิน อัตราการไหลมากน้อยขึ้นกับฤดูกาลและสภาพป่าบริเวณใกล้เคียง มักจะมีชื่อเรียกตามสถานที่นั้นๆ เช่น จั้นกกบาก จั้นป่าตอง จั้นดานใหญ่ เป็นต้น ที่ป่าภูโหล่ย อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณที่พบซากปลาโบราณ พบว่ามีแหล่งตาน้ำ เรียกว่าภูน้ำจั้น

แชร์บทความนี้

สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

หมวดท่องเที่ยว

10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยว unseen ในอุบลราชธานี

อุบลราชธานีตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เป็นที่รู้จักในด้านวิถีชีวิตแบบสบายๆ วัดวาอารามเก่าแก่ และธรรมชาติที่สวยงาม แม้ว่าเมืองนี้อาจไม่ได้รับความนิยมเท่ากรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ แต่ก็เป็นที่ตั้งของอัญมณีที่ซ่อนอยู่มากมายที่รอการค้นพบ ในบล็อกนี้เราจะมาแนะนำสถานที่ Unseen 10 แห่ง

หมวดท่องเที่ยว

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยว Unseen นครปฐม

นครปฐม ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ไกล เป็นอัญมณีที่ซ่อนเร้นสำหรับนักเดินทางที่ต้องการสำรวจด้านที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักของประเทศไทย แม้ว่าจังหวัดนี้จะเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวนอกเส้นทางมากมายที่คุ้มค่าแก่การเยี่ยมชมไม่แพ้กัน 10 อันดับ Unseen ที่เที่ยวนครปฐม